วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน  เรื่อง โวหารภาพพจน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
.............................................................................................................................
คำชี้แจง  ๑) ข้อสอบมีทั้งหมด  ๓๐ ข้อ  คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน ใช้เวลาในการทำแบบทดสอบ        
                   ๓๐ นาที 
 ๒) ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย Í ลงในกระดาษคำตอบข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

๑. ข้อใดมีโวหารภาพพจน์เช่นเดียวกับ หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ
                ก. ก้อยกุ้งปรุงประทิ่นวางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
                ข. เมื่อลมพัดใบไม้สะบัดโบกมือเรียกใคร
                ค. สุดเอยสุดสวาท  โฉมประหลาดล้ำเทพอัปสร
                ง. เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์  พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข
๒. สายธาราดั่งนาฬิกาแก้ว  แว่วแว่วจ๊อกจ๊อกเซาะซอกหิน ข้อความที่ขีดเส้นใต้ใช้ภาพพจน์
       ชนิดใด
                ก. อุปมา                
ข. สัทพจน์           
ค. บุคคลวัต                          
ง. สัญลักษณ์
๓. ข้อใดใช้โวหารภาพพจน์แบบอุปลักษณ์
                ก. เธอคือโคมทองของชีวิตพี่                            
                ข. เสียงรถด่วนขบวนสุดท้าย
                ค. ฝากเพลงนี้มากับสายลมผ่าน
                ง. หากมีเวลามาเยี่ยมบ้านนาบ้างเน้อพี่เน้อ

ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ  ข้อ ๔-๗
                                                                ก. อุปมา                
ข. สัทพจน์
                                                                ค. บุคคลวัต                          
ง. อุปลักษณ์

๔. ธรรมชาติต่างสลดหมดความคะนองทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด
๕. บุหลันลอยเลื่อนฟ้าไม่ราคี   รัศมีส่องสว่างดั่งกลางวัน เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด
๖. เธอคือสายน้ำฉ่ำชื่นใจ   จากวันนี้ไปฉันไม่ทุกข์ตรม เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด
๗. น้ำพุพุ่งซ่าไหลมาฉาดฉาน  เห็นตระการมันไหลจอกโครมจอกโครม เป็นโวหารภาพพจน์
       ชนิดใด

๘. นวนิยายเรื่องใดผู้แต่งตั้งชื่อเรื่องโดยใช้โวหารภาพพจน์แบบปฏิพากย์
                ก. เด็ดดอกฟ้า
ข. หงส์สะบัดลาย
                ค. เขียนฝันด้วยชีวิต                                           
ง. เก้าอี้ขาวในห้องแดง
๙. ข้อใดใช้โวหารเกินจริง
                ก. โอ้โอ๋อกพระชนกชนนีนี้จะแตกครากสักเจ็ดภาคภินทนาการ
                ข. พลางโอบอุ้มจุมพิตพักตร์พระหลานรักสองสายสมรเสมอเนตร
                ค. พระหลานหลวงประโคมดุริยะดนตรีแตรสังข์ทั้งปวงกึกก้องทั้งห้องพระโรงชัย
                ง. ก็เหตุไฉน จึ่งไอ้พวกพาลมิจฉาชาติชวนกันสรรแสร้งแกล้งสบประมาทนินทาต่อหน้า
                 พระที่นั่ง
๑๐. ข้อใดใช้โวหารภาพพจน์ชนิด นามนัย
                ก. เอ็งไปป่าพาไปแต่วันทอง             ที่นั่งรองนั้นได้มาแต่ไหน
                ข. ครั้นรุ่งแจ้งแสงสางสว่างหล้า      ทองประศรีตื่นตาหาช้าไม่
                ค. น้องฝันว่าได้เอื้อมถึงอากาศ         ประหลาดเด็ดสุริยาลงมาล่าง
                ง. เจ้าลืมนอนซ่อนพุ่มกระทุ่มต่ำ      เด็ดใบบอนช้อนน้ำในไร่ฝ้าย
๑๑. ข้อใดใช้ภาพพจน์เช่นเดียวกับ ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
                ก. เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม                           ถึงพรหม
                ข. มองซิมองทะเล                                  เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน
                ค. วันนี้แพรสีแสดของแดดกล้า           ห่มทุ่งหญ้าป่าเขาอย่างเหงาหงอย
                ง. ดูน้ำวิ่งกลิ้งเชี่ยวเป็นเกลียวกลอก  กลับกระฉอกฉาดฉัดฉวัดเฉวียน
๑๒. ข้อใดเป็นโวหารภาพพจน์ปฏิพากย์
                ก. อันของสูงแม้ปองต้องจิต              ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ
                ข. ฉันเอาฟ้าห่มให้หายหนาว           ดึกดื่นกินแสงดาวต่างข้าว
                ค. เธอตายเพื่อจะปลุกให้คนตื่น       เธอตายเพื่อผู้อื่นนับหมื่นแสน
                ง. โอ้หนาวอื่นพอขืนอารมณ์ได้       แต่หนาวใจยากแค้นนี้แสนเข็ญ
๑๓. เป็นการใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งมาเข้าคู่กัน ทำให้ผู้อ่านสะดุดใจ          
         เป็นความหมายของโวหารภาพพจน์ชนิดใด
                ก. อติพจน์            
ข. ปฏิพากย์          
ค. อุปลักษณ์         
ง. สัญลักษณ์
๑๔. ภพนี้มิใช่หล้า            หงส์ทอง เดียวเอย
         กาก็เจ้าของครอง        ร่วมด้วย
        คำประพันธ์นี้ใช้ภาพพจน์ชนิดใด
                ก. อุปลักษณ์                         
ข. สัญลักษณ์                        
ค. ปฏิพากย์                          
ง. อติพจน์
๑๕. ข้อใดมีการใช้สัญลักษณ์
                ก. เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา                    เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง
                ข. อยากจะบอกว่ารักสักเท่าฟ้า          หมดภาษาจะพิสูจน์พูดรักได้
                ค. ทะเลไม่เคยหลับใหล                     ใครบอกได้ไหมไฉนจึงตื่น
                ง. เมฆหมอกที่ผ่านมาในชีวิต            ฉันพิชิตมันได้ด้วยใจหาญ
๑๖. เพชรน้ำค้างค้างหล่นบนพรมหญ้า          เย็นหยาดฟ้ามาฝันหลงวันใหม่
        เคล้าเคลียหยอกดอกหญ้าอย่างอาลัย       เมื่อแฉกดาวใบไผ่ไหวตะวัน 
       คำประพันธ์ที่ขีดเส้นใต้ เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด
                ก. อุปมา
ข. นามนัย                                             
ค. สัทพจน์                           
ง. บุคคลวัต
๑๗.            วังเอ๋ยวังเวง                     หง่างเหง่งย่ำค่ำระฆังขาน
         ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล           ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน
         คำประพันธ์นี้มีการใช้โวหารภาพพจน์ชนิดใด
                ก. อุปมา
ข. นามนัย                                             
ค. สัทพจน์                           
ง. บุคคลวัต
๑๘. ข้อใดไม่แสดงภาพพจน์แบบปฏิพากย์
                ก. ตัวเจ้าจะสำราญระริกรื่น                  ข้านี้นับวันคืนละห้อยไห้
                ข. บ้างเป็นเงินเกลี้ยงเกลาขาวสะอาด   บ้างเป็นชาติทองแท้แลอร่าม
                ค. เพราะถิ่นนี้มีฟ้ากว้างกว่ากว้าง         มีความมืดที่เวิ้งว้างสว่างไสว
                ง. เจ้ามาได้ผัวดีมีทรัพย์มาก                 มาลืมเรือนเพื่อนยากแต่เก่าก่อน
๑๙. ข้อใดเป็นการใช้โวหารภาพพจน์แบบกล่าวเกินจริง
                ก. ฉันแว่วเสียงเธอเพ้อครวญริมทะเลแห่งนี้
                ข. ถ้าวันนี้ยังมีเขาอยู่ เราคงยืนสู้ดูโลกอย่างทระนง
                ค. ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
                ง. เพราะเธอเหมือนหลักไม้ตั้งตรงนั่น ไม้เลื้อยอย่างฉันได้พันอาศัย
๒๐. พอแดดพริ้มยิ้มพรายกับชายฟ้า โลกก็จ้าแจ่มหวังด้วยรังสี
         ข้อใดใช้โวหารภาพพจน์เช่นเดียวกับคำประพันธ์นี้
                ก. สนธยาจะใกล้ค่ำ   คำนึงหน้าเจ้าตาตรู
                ข. บ้านข้าอยู่บนดอย เมฆหมอกลอยเต็มท้องฟ้า
                ค. บุปผชาติชูสีและมีกลิ่น อยู่ในถิ่นที่ไกลเช่นไพรสณฑ์
                ง. หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ  แพนดอกฉ่ำช้อยช่อวรวิจิตร
๒๑. ข้อใดมีการใช้สัญลักษณ์
                ก. ฟังเทศน์หาวนอน                             ดูละครตาสว่าง
                ข. ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราชย์                 เยียววิวาทชิงฉัตร
                ค. อุระเรียมเกรียมตรมอารมณ์ร้อน   ระอาอ่อนอกใจมิใคร่หาย
                ง. หนึ่งบิดามารดาคณาญาติ                  ให้ผุดผาดผาสุกเป็นนิจสิน
๒๒. ข้อใดเป็นโวหารภาพพจน์ชนิดสัทพจน์
                ก. มองซิมองทะเล   เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน
                ข. ติ๊กต่อก เจ้านาฬิกา  ปลุกฉันให้มาอยู่ในความรัก
                ค. ปลิดปลิวเคว้งคว้าง  ชีวิตฉันดั่งใบไม้ที่หลุดลอย
                ง. เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง  ให้มันไหลลง ๆๆๆ ทะเล
๒๓. ข้อใดมีลักษณะเป็นโวหารภาพพจน์กล่าวเกินจริง
                ก. สถานที่ประชาชนไม่บังอาจจุดตะเกียง ขุนนางอาจจุดกองไฟได้
                ข. คนบางประเภทเป็นเหมือนตุ้มอันหนักที่คอยบั่นทอนความเจริญทางปัญญา
                ค.วันเวลาอย่างนี้ใครบางคนอาจจะมองเห็นดวงจันทร์โศกเศร้าและดวงดาวคร่ำครวญ
                ง. ถึงตายแล้วเกิดใหม่สักแสนชาติ ที่จะให้ละความจงรักภักดีต่อชาตินั้นอย่าได้หวังเลย
๒๔. ข้อใดไม่ใช่โวหารภาพพจน์ชนิดอติพจน์
                ก. ร้อนตับจะแตก
                ข. เหนื่อยสายตัวแทบขาด
                ค. กลับดึกอยู่ก็ลึกในซอยเปลี่ยว
                ง. โลกหยุดหมุนทันทีที่เธอยิ้มให้
๒๕. คำประพันธ์ในข้อใดไม่ใช้ สัทพจน์
                ก. ใต้เตียงเสียงหนูก็กุกกก แมงมุมทุ่มอกที่ริมฝา
                ข. อีวันทองตัวมันเหมือนรากแก้ว    ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยว
                ค. กระโดดเผาะเกาะผับขยับคืบ       ถีบกระทืบมิใคร่หลุดสุดแสยง
                ง. ครืนครืนคลื่นพิรุณรั่วหล้า            สายฟ้าฟาดเปรี้ยงเปรี้ยงเสียงสยอง  
๒๖. “น้ำพระเนตรพุทธรูปหยดจูบพื้น          เจดีย์ยืนอาลัยโบสถ์ไหวหวั่น
           กำแพงเมืองล้มพาดพินาศพลัน           อดีตวันทรุดร่วงเมืองหลวงเดิม” 
           คำประพันธ์นี้ใช้โวหารภาพพจน์ชนิดใด
                ก. อติพจน์                                            
ข. ปฏิพากย์  
                ค. บุคคลวัต                                                          
ง. อุปลักษณ์   
๒๗. ข้อใดใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติมากที่สุด
                ก. รุกขชาติดาษดูระดะป่า                                    สกุณาจอแจประจำจับ
                ข. ข่อยมะขามตามทางสล้างเรียง                        นกเขาเคียงคู่คูประสานคำ
                ค. จนไก่เถื่อนเตือนขันสนั่นแจ้ว                        ดุเหว่าแว่วหวาดหมายว่าสายสมร
                . ย่ามกระสอบกรอบแกรบกระไกรกริก          กลักพริกพลิกแพลงตะแคงหงาย

๒๘. ข้อใดไม่ใช้ความเปรียบแบบอุปมา
                ก. มะลิวัลย์พันพุ่มคัดเค้า                                    ระดูดอกออกขาวทั้งราวป่า
                  บ้างเลื้อยเลี้ยวเกี้ยวกิ่งเหมือนชิงช้า                ลมพาพัดแกว่งดังแกล้งไกว
                ข. หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ                   แพนดอกฉ่ำช้อยช่อวรวิจิตร
                  งามดั่งเปลวเพลิงป่ามานิรมิต                          สร้อยโสภิตอภิรุมพุ่มหัวใจ
                ค. ลมระเริงลู่หวิวพลิ้วระลอก                           สัพยอกยอดไม้ไปลิ่วล่อง
                     แล้วใบไม้ก็ไหวส่ายขึงข่ายกรอง ทอแสงทองประทับซับน้ำค้าง         
                ง.  เพียรทองงามดั่งทอง                                     ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
                     กระแหแหห่างชาย                                        ดั่งสายสวาทนาดนวยจร
๒๙. เราต่างคงความกร่อนในความแกร่ง และคงความเข้มแข็งในความเปราะ
         สะอื้นไห้ในเสียงหัวเราะ  และเงียบเสนาะเสียงดนตรี  
         ข้อความนี้ใช้โวหารภาพพจน์ชนิดใด
                ก. อุปมา                
ข. อติพจน์                            
ค. ปฏิพากย์          
ง. สัญลักษณ์        
๓๐. ข้อใดเป็นการใช้โวหารภาพพจน์แบบอุปลักษณ์
                ก. มโหรีจากราวป่ามาเรื่อยรี่                                              ราชินีแห่งน้ำค้างจะห่างหัน
                  ฝักต้อยติ่งแตกจังหวะประชันกัน                   จักจั่นจี่เจื้อยรับเรื่อยร้อง
                ข. ไผ่ซออ้อเอียดเบียดออด                                 ลมลอดไล่เลี้ยวเรียวไผ่
                  ออดแอดแอดออดยอดไกว                                               แพใบไล้น้ำลำคลอง
                ค. งามทรงวงดั่งวาด                                                            งามมารยาทนาดกรกราย       
                  งามพริ้มยิ้มแย้มพราย                                        งามคำหวานลานใจถวิล    
                ง. ลมหนาวเริ่มล่องมาจากฟ้าแล้ว                                     พรมจูบแผ่วเจ้าพระยาโดยฟ้าฝัน
                  คลื่นคลี่เกลียวแก้วม้วนกับนวลจันทร์                            กระซิบสั่งซ่านกระเซ็นเป็นลำนำ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น